ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เสี่ยงไหมถ้าปล่อยไว้นาน

7 April 2025
|
เขียนโดย
admin
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ภัยอันตรายถึงชีวิต
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เสี่ยงไหมถ้าปล่อยไว้นาน ถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง) หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อาการทรุดลง ไข้สูงมาก อ่อนเพลียมาก ปวดเมื่อยทั่วตัว เจ็บคอ ไอรุนแรง เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะในคนกลุ่มเสี่ยง
เป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดหนึ่งที่แพร่ระบาดได้ง่ายและทำให้เกิดอาการรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป หรือแม้แต่ไข้หวัดใหญ่ชนิด B
ระยะฟักตัว
จะมีระยะฟักตัว (Incubation Period) ประมาณ 1-3 วัน หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการเจ็บป่วย โดยอาการจะค่อยๆ รุนแรงขึ้นภายในเวลาอันสั้น
แนวทางตรวจหา เชื้อไข้หวัดใหญ่ ร่วมกับเชื้อโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ
ปัจจุบันมี Rapid Covid-19+FluA/B+RSV Antigen Combo Test Cassette จาก HIP Biotech ซึ่งเป็น ชุดตรวจแบบ 4 in 1 สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสได้พร้อมกันถึง 4 ชนิด ได้แก่
- เชื้อโควิด-19
- เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A
- เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B
- เชื้อไวรัส RSV
โดยเก็บตัวอย่างจากสารคัดหลั่งโพรงจมูก (Swab) เหมาะสำหรับคัดกรองผู้มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคและเข้ารับการรักษาได้อย่างตรงจุด ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ
ใช้งานง่าย รู้ผลเร็ว ผ่านมาตรฐาน อย. ไทย
เหมาะสำหรับคัดกรองเบื้องต้นเมื่อมีไข้ ไอ เจ็บคอ
ความแตกต่างระหว่าง "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A" กับ "ไข้ทั่วไป"
อาการ | ไข้ทั่วไป | ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A |
---|---|---|
ระยะฟักตัว | 2-5 วัน | 1-3 วัน (เร็วกว่า) |
อาการไข้ | ไข้ต่ำ-กลาง | ไข้สูงเฉียบพลัน 38-40°C |
อาการร่วม | น้ำมูก ไอเล็กน้อย | ปวดเมื่อยตัวมาก อ่อนเพลียหนัก ไอแห้ง เจ็บคอ |
ระยะเวลาหาย | 3-5 วัน | 5-7 วัน หรือมากกว่า หากมีภาวะแทรกซ้อน |
การแพร่กระจายเชื้อ | แพร่เชื้อได้น้อยกว่า | แพร่เชื้อได้ง่าย รุนแรงในกลุ่มเสี่ยง |
หากมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อย อ่อนเพลียมาก ไอแห้ง ควรสังเกตตัวเองและตรวจคัดกรองให้ชัดเจน เพราะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มีความรุนแรงและแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าหวัดธรรมดา เลือกใช้ ชุดตรวจ 4 in 1 HIP Biotech ช่วยให้รู้ผลไว วางแผนการรักษาได้อย่างปลอดภัย